Last updated: 26 เม.ย 2567 | 939 จำนวนผู้เข้าชม |
ถ้าหากเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ กระเพาะของเราจะต้องรับภาระในการย่อยอาหารมากขึ้น ยิ่งอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ กระเพาะจะต้องหลั่งกรด และมีการบีบตัวที่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดหรือท้องเฟ้อตามมา
1. ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี
การเคี้ยวช่วยบดอาหารชิ้นใหญ่ ๆ ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้ย่อยง่ายขึ้น และลำไส้จะดูดซึมสารอาหารจากอาหารที่ผ่านเข้ามาได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเดินทางของอาหารในลำไส้นั้นใช้เวลาพอ ๆ กันไม่ว่าจะเป็นอาหารละเอียดหรือไม่ละเอียด แต่เมื่ออาหารละเอียดแล้วร่างกายจะสามารถดูดซึมสารอาหารได้เร็วขึ้น เนื่องจากเวลาการย่อยอาหารนั้นน้อยลง เพราะการเคี้ยวที่ละเอียดช่วยย่อยอาหารไประดับหนึ่งแล้ว ซึ่งอาหารที่ละเอียดกว่าจะถูกดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าอาหารที่ไม่ละเอียด
2. ดีต่อสมอง ความจำ และอารมณ์
การค่อย ๆ เคี้ยวอาหารจะทำให้ต่อมใต้หู และต่อมน้ำลายถูกกระตุ้น ฮอร์โมนมีการหลั่งอย่างสมดุล ส่งผลดีทำให้อารมณ์ดี การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น อารมณ์มั่นคง สภาพจิตใจไปในเชิงบวก เมื่อคิดอะไรก็คิดได้ดีมีประสิทธิภาพ และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยวอาหารมีส่วนเชื่อมกับระบบประสาทและสมอง ส่งสัญญาณถึงกันโดยตรง เมื่อเราเคี้ยวอาหารละเอียด ให้เวลากับการรับประทานมากขึ้น สมองจึงถูกกระตุ้น ระบบไหลเวียนของเลือดในสมองทำงานได้ดี ส่งผลดีต่อระบบความจำ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ โดยเฉพาะกับคนสูงอายุ
3. ช่วยควบคุมน้ำหนัก
เคี้ยวแต่ละคำอย่างละเอียดประมาณ 40 ครั้งต่อ 1 คำ จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ทั้งที่ปริมาณอาหารที่เรารับประทานไปอาจมีปริมาณเพียง 12 % ของอาหารปกติที่ทำให้เราอิ่มจากการเคี้ยวปกติ 15 ครั้งต่อ 1 คำ โดยปกติแล้วร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในการส่งสัญญาณไปที่สมองว่าอิ่มแล้ว ดังนั้นการที่เราใช้เวลานานในการเคี้ยว จะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น และส่งผลให้น้ำหนักคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
4. ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ลดอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ
การเคี้ยวอาหารใฟ้ละเอียดจะทำให้กระเพาะทำงานไม่หนัก และส่งผลให้ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่มีหน้าที่สร้างความหิวในกระเพาะอาหารลดระดับลง ทำให้ไม่รู้สึกหิวบ่อย อิ่มได้นานกว่าคนที่เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้ร่างกายดูซึมสารอาหารได้ดีมากขึ้น ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นลดการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย ซึ่งเป็นเหตุทำให้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารเป็นพิษ หรือกรดไหลย้อน เป็นต้น
5. ช่วยให้ฟันแข็งแรง
การเคี้ยวมากขึ้นจะทำให้น้ำลายออกมากขึ้น และไปทำความสะอาดฟัน ลดการสะสมของคราบหินปูน ช่วยให้ฟันผุน้อยลง รวมทั้งยังเป็นการบริหารเหงือกและฟันให้แข็งแรงอีกด้วย
การเคี้ยวอาหารที่ดีคือแบบไหน
โดยปกติการเคี้ยวอาหารให้ได้ประโยชน์ในระดับมาตรฐานควรเคี้ยว 25 – 30 ครั้งต่อ 1 คำ แต่ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการเคี้ยวให้ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้นให้เพิ่มเป็นเคี้ยวอาหาร 40 ครั้ง ต่ออาหาร 1คำ เพราะจะทำให้อาหารถูกย่อยได้ดีแล้วก่อนกลืนลงสู่กระเพาะ แล้วยังทำให้น้ำลายผลิตได้มาก ซึ่ง เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ในน้ำลายจะทำให้อาหารที่เคี้ยวมีความเป็นด่าง ยิ่งเคี้ยวนานยิ่งรู้สึกว่า อาหารในปากหวานขึ้น เพราะเอนไซม์อะไมเลสช่วยย่อยแป้งในอาหารให้กลายเป็นน้ำตาล ส่วนอาหารประเภทโปรตีนจะกลายเป็นกรดอะมิโน ไขมันจะกลายเป็นกรดไขมันที่อนุภาคเล็กลงพร้อมให้ร่างกายซึมซับนำไปใช้ได้
นอกจากเคี้ยวช้า ๆ ให้ละเอียดแล้ว ควรกระจายการเคี้ยวให้สมดุลทั้งฟันฝั่งซ้ายและฝั่งขวาด้วย เพราะหากเคี้ยวข้างเดียวจะทำให้ขากรรไกรทำงานหนักข้างเดียว ส่งผลทำให้ฟันด้านที่ไม่ได้ใช้งานผลิตน้ำลายได้น้อย มีคราบพลัค และคราบหินปูนเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า และอาจทำให้เหงือกอักเสบได้ แต่ถ้ารู้สึกว่ามีปัญหา ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้สองฝั่งพร้อมกัน เพราะปัจจัยอี่น เช่น ฟันหลอ ฟันสบกัน หรือฟันแตก ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์
ที่มา: สสส. และ lineeprofessional.com
HERBAL WHITENING FLUORIDE TOOTHPASTE
ยาสีฟันสมุนไพร เข้มข้น ผสมฟลูออไรด์ 1500 ppm
ขนาด 60 กรัม ราคา 199.-
โปรโมชั่นราคาพิเศษ ต้อนรับสินค้าใหม่จากภูมิพฤกษา
ซื้อ 2 แถม 1 ราคาพิเศษ 398.- (ปกติ 597.-)
ซื้อ 3 แถม 3 ราคาพิเศษ 597.- (ปกติ 1,194.-)
ระยะเวลาโปรโมชั่น 1-30 เมษายน 2567
22 ส.ค. 2567
23 ก.ย. 2567
20 พ.ย. 2567